ในขณะที่นโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลเป็น 400 บาท/วัน ยังไม่ได้ข้อสรุป และยังเป็นประเด็นที่โต้เถียง และคัดค้านกันอยู่ ไม่เพียงแต่ภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบ แต่เหล่ามนุษย์เงินเดือนอย่างเราก็คงใช้ชีวิตอยู่บนความเสี่ยงไม่น้อย เพราะมันอาจส่งผลกระทบให้เกิดการเลิกจ้างงานมากขึ้นในภาคธุรกิจ โดยเฉพาะเอสเอ็มอี
แถมหากค่าเงินบาทแข็งตัว อาจกระทบไปถึงการท่องเที่ยว ที่นักท่องเที่ยวจะต้องใช้เงินจำนวนมากขึ้นเพื่อท่องเที่ยวในไทย ทั้งยังส่งผลกระทบในภาคเกษตรกรรม ที่จะต้องขาดแคลนแรงงาน และเป็นโอกาสให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในไทยมากขึ้นด้วย เรียกว่ากระทบเศรษฐกิจโดยรวมทั้งประเทศเลยทีเดียว
ดังนั้น ในระหว่างที่รอข้อสรุป เพื่อให้ได้อัตราที่เหมาะสมและเป็นธรรมในการปรับขึ้น เรามาส่องค่าแรงขั้นต่ำของ 10 ประเทศอาเซียนกัน ว่าล่าสุด (ข้อมูลวันที่ 22ก.ค.62) เฉลี่ยแล้วได้ชั่วโมงละเท่าไหร่กันบ้าง และประเทศใดที่ครองอันดับ 1 ค่าแรงขั้นต่ำสูงที่สุดของโลก! ประเทศใดที่ต่ำสุดของโลก มาดูกันเลย
10 ประเทศอาเซียน
- ประเทศฟิลิปปินส์
คิดเป็น 1.33 us/ชม หรือ 41.03 บาท/ชม - ประเทศไทย
คิดเป็น 1.22 us/ชม หรือ 37.63 บาท/ชม - ประเทศมาเลเซีย
คิดเป็น 1.03 us/ชม หรือ 31.78 บาท/ชม - ประเทศกัมพูชา
คิดเป็น 0.89 us/ชม หรือ 27.37บาท/ชม - ประเทศลาว
คิดเป็น 0.81 us/ชม หรือ 24.99 บาท/ชม - ประเทศเวียดนาม
คิดเป็น 0.73 us/ชม หรือ 22.52 บาท/ชม - ประเทศอินโดนีเซีย
คิดเป็น 0.63 us/ชม หรือ 19.43 บาท/ชม - ประเทศเมียนมาร์
คิดเป็น 0.33 us/ชม หรือ 10.18บาท/ชม - ประเทศบรูไน (ไม่กำหนดค่าแรงขั้นต่ำ)
- ประเทศสิงคโปร์ (ไม่กำหนดค่าแรงขั้นต่ำ)
สูงสุดของโลก
- ประเทศออสเตรเลีย
คิดเป็น 14.56 us/ชม หรือ 449.14 บาท/ชม
ต่ำสุดของโลก
- ประเทศเวเนซูเอล่า
คิดเป็น 0.03 us/ชม หรือ 0.93 บาท/ชม
จะเห็นว่า ‘ค่าแรงขั้นต่ำ’ ของแต่ละประเทศแตกต่างกัน ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่นโยบายของรัฐฯ ระบบเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมของประเทศนั้นๆด้วย ยิ่งประเทศไหนค่าแรงขั้นต่ำสูง ก็ยิ่งดึงดูดแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านให้เข้าไปทำมากขึ้น และแน่นอนว่าหากค่าแรงขั้นต่ำสูงเกินไป มันจะส่งผลให้ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานมาก เพราะอาจส่งผลให้ธุรกิจขาดทุน จนต้องปิดกิจการ
หรือในอีกมุมหนึ่ง หากค่าแรงขั้นต่ำ ต่ำเกินไป ในขณะที่ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น แรงงานบางส่วนต้องขยับปรับตัวไปทำงานในที่ที่ค่าจ้างสูงกว่า ทำให้เกิดสภาวะขาดแคลนแรงงาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมแน่นอน